24/12/57 Feed in Tariff (FIT) กับ Biomass ..ถึงเวลาของข้าแล้ว!!

เมื่อกลางเดือน ธค.57 ที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้เห็นชอบให้ มีการปรับเปลี่นนการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน จากเดิมระบบAdder ให้มาใช้ ระบบ Feed in Tariff (FIT)ทั้งหมด และได้ประกาศอัตราการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนระบบFITใหม่ออกมา ซึ่งผลของนโยบายดังที่กล่าวมานั้น ส่งผลต่อการรับซื้อไฟฟ้าในหลายๆประเภท..แต่ที่จะมองข้ามไปไม่ได้คือ การส่งเสริม FIT ของรฟฟ.ชีวมวล(Biomass)

ชีวมวล(ฺBiomass)
การผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลนั้น ถือเป็นการนำของที่เหลือจากภาคการเกษตร นำมาแปลงให้เกิดพลังงานไฟฟ้า ซึ่งถือเป็นพลังงานสะอาด และเหมาะสมแก่ประเทศเกษตรกรรมอย่างประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากการส่งเสริมให้ผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลมีข้อดีในหลายๆด้าน ดังนี้
ลดมลพิษ – ลดการเผาเตรียมแปลงเพาะปลูกในพื้นที่โล่งแจ้ง จึงถือเป็นการลดมลพิษของท้องถิ่นแบบภาพรวม
ช่วยเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เข้มแข็ง – เศษไม้, ตอไม้ ที่ได้จากการเกษตร สามารถนำมาขาย สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร
ลดขยะ – การใช้ชีวมวลเป็นเชื้อเพลิง จะการลดปัญหาขยะจากการเกษตร และ อุตสาหกรรม
ลดการใช้พลังงานฟอสซิล – การใช้พลังงานหมุนเวียนถือเป็นพลังงานสะอาดช่วยลดปัญหาโลกร้อน
จากข้อดีที่กล่าวมาในเบื้องต้นนั้น เรียกได้ว่า เหมาะสมกับประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากประเทศไทยมีพื้นที่ในการทำเกษตรกรรมจำนวนมาก นอกจากนี้มีความพร้อมทั้งในด้านเทคโนโลยี และเงินทุน. ซึ่งหากภาครัฐทำสำเร็จจะช่วยลดการพึ่งพิงการใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งชีวมวล นั้นถือว่ามีน้ำหนักเยอะที่สุดในแผน AEDP(Alternative Energy Development Plan;2556-2564)

Feed in Tariff (FIT)

Capture
จากตารางFeed in tariff ข้างบน จะเห็นการเปลี่ยนแปลงจากระบบAdderที่ชัดเจนๆดังนี้
1.รฟฟ.ชีวมวลในพื้นที่ปกติ จากเดิมAdder ได้เพียง 0.3บาท/หน่วย เพียง7ปี เปลี่ยนเป็น 0.3บาท/หน่วย 8ปี
2.รฟฟ.ชีวมวลในพื้นที่พิเศษ จากเดิมAdder ได้เพียง 1บาท/หน่วย เพียง7ปี เปลี่ยนเป็น 0.5บาท/หน่วย 20ปี
3.รฟฟ.ชีวมวลจากเดิมทำสัญญา25ปี เปลี่ยนเป็นทำสัญญา20ปี
4.รฟฟ.ชีวมวล จากเดิม ได้ค่าไฟฟ้าฐาน+FT(ปัจจุบัน) เปลี่ยนเป็น FIT fix.+ FIT var.
***โดยFTจะปรับตามต้นทุนพลังงานของการไฟฟ้าเป็นหลัก เช่น ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น
***โดยFIT var. จะปรับตามค่าเงินเฟ้อเป็นหลัก

ตัวอย่างเชิงมูลค่า
จากข้อมูล บริษัท ทีพีซี เพาเวอร์ โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ TPCH คือผู้ประกอบการ รฟฟ.ชีวมวลแบบVSPP ขนาด10MW น่าจะที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยแล้ว นอกจากนี้จะเป็นหุ้นIPOบริษัทแรกของปี2558ที่จะถึงนี้ โดยในการประมาณมูลค่านี้ จะใช้ รฟฟ.ช้างแรก ไบโอเพาเวอร์ เปรียบเทียบว่าหากเปลี่ยนเป็นFITใหม่จะมีผลทางการเงินแตกต่างกันอย่างไร โดยใช้สมมุติฐานดังนี้(ข้อมูลนี้..ใช้ตัวเลขโดยประมาณ) 1.ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงไม่มีการเปลี่ยนแปลง ของระบบ Adder และ FIT มีค่าเท่ากัน โดยให้ที่ 104ล.บาท/ปี 2.ค่าเสื่อม ให้ที่ปีละ 26.33 ล.บาท/ปี และ ดอกเบี้ย6.25ที่MLR-1.25คงที่ 3.ไม่มีการคิดการเปลี่ยนแปลงของFT และ FIT var. โดยเมื่อทำการประเมินเปรียบเทียบ ผลของการเปลี่ยนแปลงเชิงกำไร จะได้ดังนี้ Capture2 จากตารางนั้นจะเห็นได้ว่า ผลตอบแทนที่ได้รับใหม่ค่อนข้างดีขึ้นเป็นอย่างมาก NPM เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว ส่งผลให้กำไรสูงขึ้นอย่างชัดเจน แม้หากพิจารณาอายุการส่งเสริมที่ลดลง5ปี แต่แลกมาด้วยการคืนทุนที่เร็วขึ้น สภาพคล่องที่มากขึ้น ถือเป็นการลดความเสี่ยงในการทำประมาณการด้านราคาเชื้อเพลิงในตอนเริ่มโครงการได้อย่างมีนัยยสำคัญ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงเป็นFITในครั้งนี้ จึงถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลในเชิงบวกอย่างมาก ต่อ โครงการรฟฟ.ชีวมวล ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

สรุป
การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ เป็นผลบวกต่อผู้ประกอบการ โรงไฟฟ้าชีวมวล ดังนี้
1.การคืนทุนเร็วขึ้น น่าจะส่งผลให้เอกชนหันมาสนใจ ทำโครงการโรงไฟฟ้ามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น..ผู้ที่มีวัตถุดิบ, ผู้ที่มีเงินทุน เป็นต้น..เชื่อว่าอีกไม่นานสายส่งคงจะเต็มไม่สามารถรับซื้อไฟฟ้าได้(เดิมๆเฉพาะแสงอาทิตย์ก็เยอะแล้ว)
2.ผู้ประกอบการายเก่า(ที่กำลังทำโครงการเพิ่มเติม) จะได้อานิสงส์ จากความพร้อมที่มีอยู่เดิม เพราะ แม้จะมีผลตอบแทนที่จูงใจมากขึ้น แต่ธุรกิจมีEntry Barrierสูง เนื่องจากการทำโครงการ รฟฟ.ชีวมวล แต่ละโครงการ มีความซับซ้อน(ยุ่งยาก) เกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย ตั้งแต่ท้องถิ่นจนถึงระดับกระทรวง ดังนั้นการประกาศFITนี้น่าจะส่งผลให้ผู้ประกอบการรายเก่าที่มีความพร้อมอยู่แล้ว..มีความคล่องตัวมากขึ้นในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเงินทุน, ด้านการหาพันธมิตรร่วมลงทุน(วัตถดิบ, เครื่องจักร, อื่นๆ)
3.การBidding(ประมูลราคา).. เชื่อว่าหากไม่มีนอกมีใน ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยที่ขอใบอนุญาติไปดองไว้ และการทำโรงไฟฟ้าชีวมวล มีความเสี่ยงเรื่องชุมชน(ฟ้องร้องนะครับ) ทำให้การจะมีแค่เงินทุนแล้วเอาใบอนุญาติไปสบายๆคงไม่ใช่เรื่องง่ายๆเพราะหน่วยงานที่อนุมัติให้มีความเสี่ยงโดนฟ้องร้องในที่สุด ดังนั้นระยะสั้นๆผู้ประกอบการรายใหม่ ที่จะสามารถมีความพร้อมได้ในระยะเวลา1ปี คงเป็นเรื่องที่ยากพอดู นอกจากนี้รฟฟ.ชีวมวลVSPPทำกันทีละ10MWเป็นส่วนใหญ่(ทำมากกว่านี้ จะต้องระวังเรื่องเชื้อเพลิง และมีขั้นตอนในการขออนุญาติมากขึ้น) ในขณะที่แผนเป้าหมายมีโอกาสอีกมากกว่า1,000MW ส่วนตัวจึงเชื่อว่าการBiddingไม่น่าจะเป็นประเด็นชี้ขาดสำหรับการทำโครงการรฟฟ.ชีวมวล ครับ

สุดท้ายนี้..หากมีความผิดพลาดประการได้ขอได้โปรดอภัยให้ด้วยครับ

จ้าสัว“ธนินท์ เจียรวนนท์” เคยกล่าวไว้ ว่า..“ธุรกิจที่เก่ง ต้องมาจากคนที่เก่ง” . คือบริษัทที่มีคนเก่ง ย่อมสำคัญกว่าบริษัทที่มีเงินทุนฉันได บริษัท ที่ทำรฟฟ.ชีวมวล ที่มีความพร้อมด้านบุคลากรย่อม ได้เปรียบและน่าสนใจกว่า บริษัทที่มีเงินทุนฉันนั้น

รักษาพนักงานกันไว้ดีๆนะครับ..ถึงเวลาของชีวมวลแล้ว!!

8 thoughts on “24/12/57 Feed in Tariff (FIT) กับ Biomass ..ถึงเวลาของข้าแล้ว!!

    1. ^___^..เสียดายแทนบริษัท..ถ้าได้ตั้งแต่ช้างแรกด้วยจะสุดยอดเลยครับ

  1. ขอบคุณมากครับพี่ ^_^
    ต่อจากนี้น่าจะเป็นปีทองของ ชีวมวลและขยะนะครับ:))

    ผมคิดว่า กฟผ ควรจะเร่ง วางระบบสายส่งให้รองรับกับการเติบโตของ รฟฟ
    บางพื้นที่เหมาะสม ใก้ลวัตถุดิบ มีแหล่งน้ำ ขาดอย่างเดียว สายส่งเต็ม >.< สถานีย่อยเต็ม !!!

  2. ขอบคุณมากค่ะ อจ เอก.
    ลำไยเพิ่มเยอะมั่กๆค่ะ

Leave a reply to IZicado Cancel reply